ประวัติเมืองนครราชสีมา (โคราช)
ประวัติเมืองโคราชประวัติจังหวัดนครราชสีมาเมืองนครราชสีมา เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในอาณาจักรไทยแต่เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในท้องที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 31 กิโลเมตร คือ เมือง"โคราช" หรือ "โคราฆะ" กับเมือง "เสมา" ทั้งสองเมืองดังกล่าว เคยเจริญ รุ่งเรืองมาก ในสมัยขอมแต่ปัจจุบันเป็นเมืองร้าง ตั้งอยู่ริมฝั่งลำตะคอง สมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) โปรดให้สร้างเมืองสำคัญที่อยู่ชายแดน ให้มี ป้อม ปราการ จึงให้ย้ายเมืองที่ ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเมืองที่มีป้อมปราการและคูน้ำล้อมรอบขึ้นใหม่ ในที่ซึ่งอยู่ ในปัจจุบัน แล้วเอานามเมืองใหม่ทั้งสอง คือเมืองเสมา กับเมืองโคราฆะ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ เรียกว่าเมืองนครราชสีมา แต่คนทั่วไป เรียกว่า เมืองโคราช เมืองนี้กำแพงก่อด้วยอิฐ มีใบเสมาเรียงรายตลอด มีป้อมกำแพงเมือง 15 ป้อม 4 ประตู สร้างด้วยศิลาแลง มีชื่อดังต่อไปนี้
- ทางทิศเหนือ ชื่อประตูพลแสน นัยหนึ่งเรียก "ประตูน้ำ"
- ทางทิศใต้ ชื่อประตูชัยณรงค์ นัยหนึ่งเรียก "ประตูผี"
- ทางทิศตะวันออก ชื่อ "ประตูพลล้าน" นัยหนึ่งเรียกประตูตะวันออก
- ทางทิศตะวันตก ชื่อ "ประตูชุมพล"
ประตูเมืองทั้ง 4 แห่งนี้ มีหอรักษาการอยู่ข้างบนทำเป็นรูปเรือน (คฤหาสน์) หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผามีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกัน ทุกแห่ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงจัดการปกครองหัวเมืองทางแผ่นดินสูงตอนริมแม่น้ำโขง เป็นประเทศราช 3 เมือง คือ เมืองเวียงจันทร์ เมืองคมพนม และเมืองนครจำปาศักดิ์ ให้เมือนครราชสีมา ปกครองเมืองกรมการป่าดง และเมืองดอนที่ไม่ขึ้นต่อ ประเทศราช ทั้ง 3 และกำกับตรวจตราเมืองประเทศราชเหล่านั้นด้วย แล้วยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองเอก ผู้สำเร็จราชการ มียศเป็นเจ้าพระยา เจ้าพระยาเมืองนครราชสีมาคนแรกชื่อเดิมคือ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้เมืองนครราชสีมา ได้นำช้าง เผือก 2 เชือก ที่คล้องได้ในเขตอำเภอภูเขียว ซึ่งน้อมเกล้าถวายและได้โปรดเกล้าฯให้ขึ้นระวางเป็นพระอินทร์ไอยรา และพระเทพ กุญชรช้างเผือก เมื่อส่งเข้าเมืองยังคงเก็บรักษาไว้ในศาลเจ้าพ่อช้างเผือกอยู่ริมถนนมิตรภาพ ตรงข้ามโรงเรียนสุรนารีวิทยา ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมืองนครราชสีมา มีความเจริญมากขึ้น เป็นศูนย์กลางค้าขายของหัวเมืองทางตะวันออก เพราะมีสินค้าที่พ่อค้า ต้องการมาก เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ นอแรด งา ไหม พวกพ่อค้าเดินทางมาซื้อสินค้าเหล่านี้แล้วส่งไปจำหน่ายที่กรุงเทพฯ และนำ สินค้าจากกรุงเทพฯมาจำหน่ายในหัวเมืองตะวันออก โดยตลาดกลางอยู่ที่เมืองนครราชสีมา และในปี พ.ศ. 2434 ( ร.ศ. 1110) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงเป็น 3 มณฑล คือ
1. มณฑลลาวพวน มีเมืองหนองคาย เป็นที่ว่าการมณฑล 2. เมืองลาวกาว มีเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นที่ว่าการมณฑล 3. เมืองลาวกลาง มีเมืองนครราชสีมา เป็นที่ว่าการมณฑล
ต่อมาเมื่อได้จัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลทั่วทั้งพระราชอาณาเขตได้เปลี่ยนนามมณฑลทั้ง 3 เสียใหม่ คือมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลอุดร มณฑลลาวกาว เป็นมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลลาวกลางเป็นมณฑลนครราชสีมา ในสมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แล้วได้ยกเลิกการจัดหัวเมืองมณฑล เทศาภิบาล และจัดใหม่เป็นภาคมณฑลนครราชสีมา เป็นภาคที่ 8 มีหัวเมืองอยู่ในความปกครอง จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีษะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งที่ว่าการอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2476 ได้เกิดกบฏบวรเดช โดยมีพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้า ทำการยึด เมืองนครราชสีมา เป็นกองบัญชาการ เพื่อรวบรวมกำลังพล ในการที่จะเข้ายึดพระนคร เพื่อบังคับให้คณะรัฐบาลของ พลเอกพระยา พหล พลพยุหเสนา ลาออก ในการก่อกบฏครั้งนี้ ข้าราชการในเมืองนครราชสีมาส่วนหนึ่ง ถูกควบคุมตัวไว้ ส่วนประชาชนถูกหลอกลวงว่าได้เกิดเหตุการณ์ ไม่สงบขึ้นในพระนคร ทหารจึงจำเป็นต้องไประงับเหตุการณ์ ต่อเมื่อได้รับทราบแถลงการณ์ของรัฐบาล จึงเข้าใจว่าการกระทำของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นกบฏ ดังนั้น ข้าราชการที่ถูกคุมขังจึงพยายามหลบหนีเอาตัวรอดไปอยู่เมืองไซ่ง่อน ในวันที่ 25 ตุลาคม 2476 รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้าพระบรมราชินนยารถ ได้เสด็จเยี่ยมพสนิกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งแรก และได้ประทับแรมที่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2498 และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมือง นครราชสีมาอีกหลายครั้ง สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยกรุงศรีอยุธยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น